มูลไส้เดือน

สารอาหารในมูลไส้เดือน

ก่อนที่จะพูดถึงปริมาณสารอาหารในมูลไส้เดือน เรามาทำความเข้าใจกับธาตุอาหารแต่ละตัวว่ามีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างไรบ้าง และถ้าพืชขาดธาตุอาหารแต่ละชนิด พืชจะมีอาการอย่างไร และจะมีผลต่อการเจริญเติบโตอย่างไร  (ข้อมูลต่อไปนี้มาจากสิ่งพิมพ์เผยแพร่ของ Virginia Tech เกี่ยวกับพืชไฮโดรโปนิค)
ไนโตรเจน (Nitrogen)- พืชทั้งต้นจะมีสีเขียวอ่อน ใต้ใบจะมีสีเหลือง ต้นพืชจะหยุดการเจริญเติบโต
ฟอสฟอรัส(Phosphorous)- พืชทั้งต้นจะมีสีเขียวแกมน้ำเงิน  ส่วนใหญ่จะพัฒนาไปเป็นสีแดงหรือสีม่วง ใต้ใบอาจจะเป็นสีเหลือง และจะแห้งเป็นสีเขียวแกมน้ำตาลแล้วเป็นสีดำ ต้นพืชจะหยุดการเจริญเติบโต
โปแตสเซียม(Potassium)- ใบไม้จะมีลักษณะบางเหมือนกระดาษ ตามบริเวณขอบใบจะแห้งตาย ต้นพืชจะหยุดการเจริญเติบโต
แมกนีเซียม(Magnesium)- ใต้ใบจะเปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง บริเวณยอดและขอบใบ และระหว่างเส้นใบไม้ ใต้ใบจะร่วงโรย
แคลเซียม(Calcium)- ก้านดอกและใบอ่อนจะตาย
สังกะสี(Zinc)- เยื่อใบไม้ระหว่างเส้นใบจะมีสีอ่อนกว่า  แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีลักษณะบางเหมือนแผ่นกระดาษ
เหล็ก(Iron)- เยื่อใบไม้จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองในขณะที่ก้านใบไม้ยังเป็นสีเขียวอยู่
ทองแดง(Copper)- ขอบใบจะมีสีเขียวเข้มหรือสีน้ำเงิน  ขอบใบงอขึ้น  ใบอ่อนจะเหี่ยวเฉาอย่างถาวร
กำมะถัน(Sulfur)- ใบอ่อนเปลี่ยนเป็นสีเขียวซีด  ในขณะที่ใบแก่ยังเขียวอยู่  พืชจะหยุดการเติบโตและต้นสูงชะลูด
แมงกานีส(Manganese)- พืชหยุดการเจริญเติบโต  ใต้ใบจะมีลายสลับสีเหลืองและสีเขียว
โมลิบดินั่ม(Molybdenum)- ใบไม้จะหยุดเจริญเติบโต จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวซีด และไม่สมประกอบ
โบรอน(Boron)- ใบอ่อนจะแห้งเกรียมที่ยอดใบและขอบใบ

ทีนี้เราสามารถเดาได้แล้วว่าทำไมมูลไส้เดือนจึงดีอย่างยิ่งสำหรับใช้ในการเพาะปลูกพืช  คำตอบก็คือ ในมูลไส้เดือนมีธาตุอาหารต่างๆตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นครบทุกตัว โดยจะมีมากบ้างน้อยบ้างไม่เท่ากัน  และพืชเองก็ต้องการธาตุอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่ไม่เท่ากันเช่นกัน  ยกตัวอย่างธาตุโมลิบดินั่ม ซึ่งมีหน้าที่ในการเปลี่ยนสารประกอบไนเตรตให้เป็นกรดแอมมิโน (องค์ประกอบของโปรตีนพืช)  ซึ่งพืชต้องการโมลิบดินั่มมากกว่าหนึ่งครั้ง  แต่ถ้าให้มากเกินไปก็จะเป็นพิษต่อพืช
เนื่องจากสารอาหารในมูลไส้เดือนจะขึ้นอยู่กับวิธีการเลี้ยงและการให้อาหารแก่ตัวไส้เดือน  มูลไส้เดือนจากวิธีการเลี้ยงที่แตกต่างกันก็จะให้ธาตุอาหารที่แตกต่างกัน  เพื่อเป็นข้อมูลคร่าวๆ  ในมูลไส้เดือนจะประกอบด้วยสารอาหารและแร่ธาตุในสัดส่วนดังต่อไปนี้
– อินทรีย์คาร์บอน  20.43-30.31%
-ไนโตรเจน  1.80-2.05%
– ฟอสฟอรัส  1.32-1.93%
– โปแตสเซียม  1.28-1.50%
– คาร์บอนต่อไนโตรเจน  14-15:1 %
– แคลเซียม  3.0-4.5%
– แมกนีเซียม  0.4-0.7%
– โซเดียม  0.02-0.30%
– กำมะถัน  ตรวจพบจนถึง 0.40%
– เหล็ก  0.3-0.7%
– สังกะสี  0.028-0.036%
– แมงกานีส  ตรวจพบจนถึง 0.40%
– ทองแดง  0.0027-0.0123%
– โบรอน  0.0034-0.0075%
– อลูมีเนียม  ตรวจพบจนถึง 0.071%
– โคบอล และ โมลิบดินั่ม

 

 

จากตัวเลขปริมาณธาตุอาหารในมูลไส้เดือนข้างต้น  ถ้าเปรียบเทียบกับที่มีอยู่ในดินเพาะปลูกทั่วไป จะพบว่า มีเหล็กเพียงตัวเดียวที่ในมูลไส้เดือนจะมีน้อยกว่าในดินเพาะปลูกทั่วไป  ส่วนอลูมีเนียมและแมกนีเซียม จะมีในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน  นอกนั้น ธาตุอาหารตัวอื่นๆในมูลไส้เดือนจะมีมากกว่าในดินเพาะปลูกทั่วไปมาก  เช่น ไนเตรต ในมูลไส้เดือนจะมีมากกว่าดินเพาะปลูกทั่วไปถึง 9 เท่า  การที่มีสารประกอบเกลือแร่ค่อนข้างมากในมูลไส้เดือนจึงทำให้มูลไส้เดือนมีค่าตัวนำไฟฟ้า สูงกว่าดินเพาะปลูกทั่วไป  ถึงแม้ว่ามูลไส้เดือนจะไม่ทำให้ต้นพืชไหม้เหมือนปุ๋ยเคมี  แต่ถ้าใช้มากๆในคราวเดียวก็จะทำให้พืชหยุดการเจริญเติบโตได้เช่นกัน
จากการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของมูลไส้เดือนกับดินเพาะปลูก  นักวิจัยได้ทดลองปลูกพืชด้วยสัดส่วนของมูลไส้เดือนกับดินเพาะปลูกในอัตราส่วนที่ต่างๆกัน  แล้วพบว่าอัตราส่วนของมูลไส้เดือนต่อดินที่ทำให้ต้นพืชเจริญเติบโตดีที่สุดคือ ใช้มูลไส้เดือน  25% ผสมกับดิน 75%  แต่ถึงอย่างไร แค่เติมมูลไส้เดือนลงไปในดินเพียง 10% ก็จะทำให้ต้นพืชเจริญเติบโตดีกว่าดินที่ไม่เติมอย่างเห็นได้ชัด  แต่ถ้าเติมมูลไส้เดือนมากถึง 40% จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นพืช  และจะดูแย่กว่าดินที่ไม่เติมมูลไส้เดือนเสียอีก

ที่มาของข้อมูล : จากบทความเรื่อง Chemical side of worm casting ของเว็บไซต์  www.worldofworms.com