วงจรชีวิตของไส้เดือน

การผสมพันธุ์ของไส้เดือนดิน
ไส้เดือนดินโดยปกติจะผสมพันธุ์กันในช่วงกลางคืนโดย ไส้เดือนดิน สองตัวมาจับคู่กันโดยใช้ด้านท้องแนบกันและสลับหัวสลับหางกัน ช่องสืบพันธุ์เพศผู้ของตัวหนึ่งจะแนบกับ ช่องสเปิร์มมาทีกาของอีกตัวหนึ่ง โดยมีปุ่มสืบพันธุ์กับเมือกบริเวณไคลเทลลัมยึดซึ่งกันและกันเอาไว้ สเปิร์มจากช่องสืบพันธุ์เพศผู้ของตัวหนึ่งจะส่งเข้าไปเก็บในถุงสเปิร์ม การจับคู่จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงแยกออกจากกัน

วงจรชีวิตของไส้เดือน

วงจรชีวิตของไส้เดือน

            เมื่อไส้เดือนดินแยกจากกัน ประมาณ 2-3 วัน จะมีการเปลี่ยนแปลงบริเวณไคลเทลลัม เพื่อสร้างถุงไข่ ( Cocoon ) ต่อมเมือกจะสร้างเมือกคลุมบริเวณไคลเทลลัมและต่อมสร้างโคคูน ( Cocoon secreting gland ) จะสร้างเปลือกของโคคูน ซึ่งเป็นสารคล้ายไคติน สารนี้จะแข็งตัวเมื่อถูกอากาศกลายเป็นแผ่นเหนียวๆ ต่อมาต่อมสร้างไข่ขาว ( Albumin secreting gland) จะ ขับสารอัลบูมินออกมาอยู่ในเปลือกของโคคูน
ซึ่งมีช่องสืบพันธุ์เพศเมียอยู่ที่ไคลเทลลัม จะปล่อยไข่เข้าไปอยู่ในโคคูน หลังจากนั้น โคคูนจะแยกตัวออกจากผนังตัวของไส้เดือนดินคล้ายกับเป็นปลอกหลวมๆ เมื่อไส้เดือนหดตัวและเคลื่อนถอยหลัง โคคูนจะเคลื่อนไปข้างหน้า  เมื่อเคลื่อนผ่านช่องเปิดของถุงเก็บสเปิร์ม ก็จะรับสเปิร์มเข้าไปในโคคูน และมีการปฏิสนธืภายในโคคูน เมื่อโคคูนหลุดออกจากตัวไส้เดือนดินปลายสองด้านของโคคูนก็จะหดตัวปิดสนิท
                เป็นถุงรูปไข่มีสีเหลืองอ่อนๆ ยาวประมาณ 2-2.4 มิลลิเมตร กว้างประมาณ1.2-2 มิลลิเมตร ถุงไข่แต่ละถุงจะใช้เวลา 8-10 สัปดาห์จึงฟักออกมา โดยทั่วไปจะมีไข่ 1-3 ฟอง ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ ไส้เดือนบางชนิดอาจมีไข่มากถึง 60 ฟอง ตัวอ่อนของ ไส้เดือนดินที่อยู่ในไข่ก็จะเจริญและพัฒนาร่างกายในส่วนต่างๆ โดยใช้สารอาหารที่อยู่ภายในถุงไข่ ระหว่างที่ตัวอ่อนเจริญเติบโตและพัฒนาอยู่ในถุงไข่นั้น ผนังของถุงไข่ก็จะเปลี่ยนสีไปด้วย โดยถุงไข่ที่ออกจากตัวใหม่ๆ จะมีสีจางๆ และเมื่อเวลาผ่านไปสีของถุงไข่ก็จะมีสีที่เข้มขึ้นตามลำดับ และจะฟักเป็นตัวในเวลาต่อมา